market day 2

market day 2

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

Le Boutis


While I am doing the very simple running stitch on my fabric bag, I became more and more interested in how running stitch could make the fabric surface more interesting. This one with  a mixture of colors and motifs on a quilted cushion by Anna Maria Horner is very pretty.
ตอนเย็บกระเป๋าผ้าฉันรู้สึกอยากรู้ว่าคนอื่นเขาทำอย่างไรกับการเนาแบบง่ายๆอย่างนี้ให้ดูมีพื้นผิวที่น่าสนใจยิ่งขึ้น พอได้มาเห็นงานปลอกหมอนปักควิ้ลท์ชิ้นนี้ของแอนนามาเรียฮอร์เนอร์แล้วรู้สึกว่าเป็นวิธีการตอบโจทก์ที่น่ารักน่าเอ็นดูด้วยการสร้างลายที่แตกต่างและการเล่นสี



Anna has is a textile designer. Here is a link to her blog
แอนนาเป็นนักออกแบบลายผ้า มีบล็อกอยู่ที่ลิ้งค์นี้

My bag is not a quilted bag. It doesn’t have a filling in between the outer fabric and the lining. I just use two pieces of heavy cotton. However, the thickness and weight are sufficient to create a wavy texture that I wish. But quilting would be nice also. Here is a video on how you can quilt using the thimble and round frame as tools. It gives a better effect than machine quilting.
ฉันไม่ได้ทำกระเป๋าควิ้ลท์เพราะไม่ได้สอดใส้ระหว่างผ้าสองชิ้น แค่ใช้ผ้าฝ้ายหนาๆมาประกบกันเพียงแค่นี้แต่ความหนาและน้ำหนักผ้าก็เพียงพอสำหรับการสร้างรอยคลื่นบนผืนผ้าตามเจตนา ข้างล่างเป็นวิดีโอวิธีการเย็บควิ้ลท์ที่ขึงบนสะดึงด้วยมือโดยมีปลอกสวมนิ้วกันเจ็บ งานควิ้ลท์ที่เย็บด้วยมือจะดูดีกว่างานที่ทำด้วยจักรเย็บผ้า
Two years ago we visited Michel’s cousin, Micky who lives in Verfeuil, a region of Languedoc (South-Western France). She gave me this sample of quilting by the boutis method.
เมื่อสองปีก่อนเราไปเที่ยวบ้านลูกพี่ลูกน้องของมิเชลที่แวร์เฟอย์ในแคว้นล็องก์ด็อค(ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส)  บูตีชิ้นนี้ที่เธอทำเองเป็นของที่ระลึกให้กับเรา


Fine running stitch.
เนาแบบละเอียดมาก
The surface pattern from boutis actually comes from stuffing the soft cotton rope in between the two pieces of fabrics. The stitches are small so that the rope does not fall off. There are needles to help to compact the ropes between the 2 pieces of fabrics. It is time consuming and quite complicated. But what a pleasure!
ลายนูนต่ำของการเย็บแบบบูตีเกิดขึ้นได้ด้วยการเย็บลวดลายแล้วเอาเชือกสอดเข้าไปในลวดลายระหว่างผ้าสองชิ้น แล้วใช้เข็มไซส์ต่างๆช่วยดันจากทุกซอกทุกมุมให้เชือกเข้าไปอัดจนแน่น เป็นวิธีที่ใช้เวลามากแต่ดูน่าสนุก

Tools อุปกรณ์ “Boutis de Ville- Boutis des Champs” by Francine Nicolle

Motifs ลาย“Boutis de Ville- Boutis des Champs” by Francine Nicolle


“Boutis de Ville- Boutis des Champs” by Francine Nicolle

Boutis Needles เข็มบูตี “Boutis de Ville- Boutis des Champs” by Francine Nicolle

“Boutis de Ville- Boutis des Champs” by Francine Nicolle

This book, “Boutis de Ville- Boutis des Champs” by Francine Nicolle is a lovely introduction to this traditional needlework of France. It also reminds me a lot of what Christian Lacroix used to do for his Couture work in the early 1990’s. Lacroix himself also came from South of France.
หนังสือ“Boutis de Ville- Boutis des Champs” โดย Francine Nicolle เป็นหนังสือแนะนำการเย็บบูตีซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของฝรั่งเศส เป็นเทคนิคที่ฉันเคยเห็นคริสเตียน ลาครัวซ์เอามาใช้ในช่วงต้นยุค 1990’s  บ้านเกิดของลาครัวซ์ก็อยู่ตอนใต้ของฝรั่งเศสเช่นกัน





I picked up this other book in Paris a year later- Le Boutis by Marie-Noelle Bayard.
ปีต่อมาฉันไปคว้าเล่มนี้มาจากปารีส- Le Boutis by Marie-Noelle Bayard


I have almost forgotten these books if I had not started thinking about hand stitching again.
เกือบลืมสองเล่มนี้แล้วถ้าไม่ได้กลับมาสนใจเรื่องงานเย็บมือ





วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

Fabric Bag in Progress

Ever since I discovered that some of my leather bags give me shoulder pain, my appreciation for fabric bags grew. They are much lighter and you can choose any textile prints and style that takes your fancy. You can also wash them when they get dirty.
ตั้งแต่ฉันรู้ตัวว่าอาการปวดไหล่มาจากหิ้วกระเป๋าหนังฉันเริ่มหันมาสนใจกระเป๋าผ้า มันเบากว่ากันมากแล้วมีหลายแบบและลายให้เลือกตามใจชอบ เวลาเปื้อนอะไรก็เอาไปซักได้

This one from Chiangmai is a favorite. I like the hand stitching on the surface.
ใบนี้จากเชียงใหม่เป็นใบโปรด ชอบงานเนาด้วยมือ

It has its drawbacks. It is a bit small for everyday use. The top part exposes all my belongings. The brown lining color runs each time I wash it.
แต่ส่วนที่ไม้ปิ๊งคือไซส์เล็กไปนิดสำหรับคนสัมภารกเยอะ ด้านบนก็อ้าท้าทายมาก คนเห็นหมดว่าข้างในมีอะไรบ้าง แล้วเวลาเอาไปซักสีน้ำตาลด้านในยังตกอีก


รอยสีตกตรงขอบบน dye stain on the top edge

Now I am making a bag of my own. All the pieces have been cut out. I must hand stitch the surface before assembling all the pieces. I don’t think it will finish any time soon but I am enjoying the process.
ตอนนี้เลยหันมาทำกระเป๋าเองบ้าง ตัดชิ้นส่วนต่างๆไว้เรียบร้อยแล้ว ต้องเนาทุกชิ้นก่อนถึงจะเย็บประกอบเข้าด้วยกันได้ คงไม่เสร็จเร็วๆนี้แน่แต่เวลาทำสนุกดี



ด้านนอก exterior surface


ด้านใน lining

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

Orange Jam


Before I met Michel, I didn’t particularly like jams. When I thought of jams I thought of the clear jelly-like store bought variety with barely visible chunky fruit pieces. I didn’t like the sharp sweetness of those jams especially when they were cooked with biscuits. I grew up with fresh fruits and from time to time I had junk food.
ก่อนจะรู้จักมิเชลฉันไม่ชอบกินแยมเท่าไหร่ นึกถึงแยมเมื่อใดก็จะเห็นภาพแยมหน้าตาเหมือนเยลลี่ใสๆไม่มีแม้แต่เงาชิ้นเนื้อผลไม้ที่หาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาเก็ตทั่วๆไป รสหวานแหลมมาก ยิ่งเป็นแยมอบแข็งเหนียวในคุ๊กกี้ยิ่งไม่ชอบเอาเสียเลย ฉันโตมากับการกินผลไม้สด บางครั้งก็เสพขนมประเภทอาหารขยะเหมือนกัน
After, we got married, we sometimes received home-made jams in recycled glass jars. They were made in France by Michel’s mother and they taste like real fruits. Her apricot jams were the best. They taste of sugary tang. She puts almonds in them and this give the jam a festive smell of the confectionary. Most importantly, they taste like real fruit preserves-which is what jams are suppose to be with chewable pieces inside.
พอเราได้มาอยู่ด้วยกันก็มีคนส่งแยมโฮมเมดใส่โหลรีไซเคิ้ลมาให้ชิมอยู่เรื่อยๆ เป็นแยมที่แม่ของมิเชลที่ฝรั่งเศสทำ รสชาตแยมเหมือนได้กินผลไม้จริงๆ แยมลูกแอปริคอตของแม่จะอร่อยสุด ออกเปรี้ยวอมหวาน แม่ใส่เมล็ดอัลมอนด์ลงไปด้วยทำให้มีกลิ่นหอมคล้ายๆเวลาเดินเข้าร้านลูกกวาดฝรั่ง ที่สำคัญที่สุดคือแยมของแม่มีลักษณะเป็นการถนอมอาหารอย่างแท้จริง- ซึ่งแยมทุกขวดควรจะเป็น และต้องมีชิ้นส่วนให้เคี้ยวได้ด้วย
I guess I took life for granted that there will always be fruits for every season in Thailand. We don’t bother to make jams. We make pickles but not jams…Not really. In western countries, fruits were only available during the warm seasons. Some fruits were not available at all. Michel remembers that when he was young, they didn’t grow oranges in France. Oranges were imported from Morocco and Israel. In his grandparent’s’ generation, oranges were a luxury commodity. His grandfather used to receive an orange as a gift for Christmas.
การที่ได้เกิดเป็นคนไทยทำให้ฉันไม่ค่อยกังวลว่าฤดูไหนจะไม่มีผลไม้กิน คนบ้านเราเลยไม่ค่อยนิยมทำแยมกินกันเอง เราถนอมอาหารด้วยการดองแต่ไม่ค่อยทำแยมกันเท่าไหร่ ในประเทศตะวันตกจะมีผลไม้ให้กินเฉพาะในฤดูที่มีอากาศอบอุ่น ยิ่งสมัยก่อนผลไม้บางชนิดไม่มีให้กินด้วยซ้ำ ตอนมิเชลเป็นเด็กยังไม่มีการปลูกส้มอย่างแพร่หลาย ต้องอาศัยกินส้มนำเข้าจากโมร็อคโคและอิสราเอล ส้มจัดเป็นผลไม้ราคาสูงในสมัยคุณปู่คุณย่าของมิเชล คุณปู่จะได้กินส้มหนึ่งลูกเป็นของขวัญวันคริสต์มาสเท่านั้น
Michel eats jam like they were nectar from paradise savoring every single drop. Jam making in France is almost like household artisanal products lovingly made with flavour, aroma, and texture. It is really part of the art of eating.
This recipe for seedless orange jam is quite easy. Allow yourself a lot of time to prepare this. I use charcoal fire and I let the jam simmer slowly.
มิเชลกินแยมอย่างละเลียดทุกคำเหมือนกับว่าแยมเป็นสิ่งที่ฟ้าประทานมาให้ ในฝรั่งเศสการทำแยมเป็นงานศิลปะพื้นบ้านที่ทำด้วยความรักและความปราณีตกับความกลมกล่อมของสามสิ่ง รสชาต กลิ่น และรสสัมผัส แสดงออกซึ่งความงดงามของการกินโดยแท้
สูตรทำแยมส้มไร้เมล็ดสูตรนี้ง่ายมาก ต้องเลือกวันที่มีเวลามากหน่อยเพราะต้องค่อยๆทำไปอย่างไม่รีบร้อน

Ingredient ส่วนผสม

  • 2 kilograms seedless oranges ส้มไร้เมล็ด 2 กิโลกรัม
  • 2 kilograms sugar น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม
  • 3 teaspoon vanilla essence กลิ่นวานิลลา 3 ช้อนชา
(jam jars washed, steamed and dried before use โหลแก้วใส่แยมฝาเกลียว ล้างให้สะอาดแล้วนำไปนึ่ง เช็ดจนก่อนนำมาใช้)

Method วิธีทำ

Wash the oranges, pat dry and use a sharp knife to slice them into 2 milimeter thickness or less. These oranges may be called seedless but there are seeds. Discard the seeds.
ล้างส้มให้สะอาด เช็ดเบาๆจนแห้ง ใช้มีดคมหั่นเป็นแว่นหนาประมาณ 2 มิลลิเมตร ส้มไร้เมล็ดมีเมล็ดอยู่พอสมควร ต้องแกะทิ้งไป

Place the sliced oranges in a large bowl. Add sugar and vanilla essence. Mix well. Put the plastic wrap over the bowl. Seal tightly and let it stand for at least 3 hours until the sugar naturally dissolve. While you wait, turn the mixture occasionally.
นำส้มที่หั่นแล้วมาใส่ในภาชนะใหญ่ๆ เทน้ำตาลและวานิลลาลงไป คลุกให้เข้ากันดี ปิดด้วยฟิล์มพลาสติกให้มิด ตั้งไว้ในห้องประมาณ 3 ชั่วโมงจนกว่าน้ำตาลจะละลายกลายเป็นน้ำ ระหว่างรอต้องเปิดฟิล์มพลาสติกแล้วคนส่วนผสมบ้าง

Transfer the mixture into a big pot and boil over medium fire. Stir occasionally and cook for at least 2 hours or until the texture is right. To test if the texture is right you need to take a teaspoon of jam out of the pot. Place the jam on a plate and allow it to cool. If the texture is clear, sticky and thick like honey, then it is ready to be bottled. Do not wait until the jam is too dry as it will become crystalised sugar again.
นำส่วนผสมไปตั้งบนเตาไปปานกลาง คนส่วนผสมเรื่อยๆป้องกันไม่ให้ก้นไหม้ รอประมาณ 2 ชั่วโมงจนกว่าเนื้อแยมจะได้ที่ การทดสอบเนื้อแยมก็ง่ายๆ ตักแยมออกมาสัก 1 ช้อนชา นำมาผึ่งบนจานจนเย็นแล้วดูว่าข้นเหนียวใสเหมือนน้ำผึ้งหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ยกลงจากเตา ตักใส่โหลได้ทันที



Bottle the jam while still hot. Seal well and place under running water quickly and let the whole thing cool down at room temperature.
บรรจุขวดโหลตอนที่แยมยังร้อนอยู่แล้วปิดฝาแน่น ล้างขวดในน้ำเย็นอย่างเร็วแล้วตั้งเรียงไว้จนเย็นตัวลง



วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

Hippie Happy : Sasiko Kaan


What does a stylist wear when she goes on holidays? Happy clothes according to Sasiko Kaan. She mixes everything from Siam Square, Jatuchak Market, goodwill stores, flea markets and do-it-yourself fashion. Weary of standardized clothes, her personal style is eclectic- bohemian, romantic, vintage and Japanese sweetness with hand-made details. Sasiko really knows what suits her. Every time I see her in her facebook page, I feel like making an effort to dress-up again.
สไตลิสต์เขาใส่อะไรกันเวลาไปเที่ยว? ถ้าเป็นซาซิโกะกานจะเลือกเสื้อผ้าแนวแฮปปี้ฮิปปี้ มิกซ์แอนด์แมทช์หลายๆสไตล์แล้วเเต่อารมณ์ ซื้อเสื้อผ้าไปทั่วไม่ว่าจะในห้าง สวนจัตุจักร สยาม ตลาดนัด ใส่ได้หมดไม่ว่า มือ 1 มือ 2 มือ 3 ขอให้ถูกใจเป็นพอ บางทีก็ทำเอง ความที่ทำงานกับเสื้อผ้ามานานจนชินชากับเสื้อสำเร็จรูปตามห้าง สไตล์ส่วนตัวของเธอจึงออกแนว โบฮีเมียน โรแมนติก วินเทจ และหวานๆแบบญี่ปุ่นแบบมีรายละเอียดแฮนด์เมด เหมาะกับบุคคลิกเธอเอง ทุกครั้งที่ฉันได้เห็นภาพการแต่งตัวสนุกๆของซาซิโกะในเฟซบุ๊คจะรู้สึกเหมือนได้แรงบันดาลใจอยากหยิบโน่นหยิบนี่มาลองเล่นแต่งตัวอีก














วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

Dream Home: Eric Raisina


There are houses that attract me for many reasons and I wish to share some of them with you. So I am going to a have a new series call Dream Home.
บ้านที่ประทับใจมีเสน่ห์หลากหลายจนอยากจะเอามาแชร์ให้คนอื่นดูด้วย ฉันเลยตั้งหัวข้อซีรี่ส์นี้ว่า ดรีมโฮม

I start with this one, in Siem Reap, Cambodia. This house belongs to the designer, Eric Raisina. It is a converted Cambodian house with high cieling and external side-staircase.
เริ่มจากบ้านหลังนี้ในเสียมเรียบหรือเสียมราฐ(เขมร) บ้านนี้เป็นของนักออกแบบแฟชั่นนามว่าเอริค ไรซีนา เป็นบ้านเก่าสไตล์เขมรนำมาปรับใหม่ ตัวบ้านมีเพดานสูงโปร่งและบันไดอยู่ข้างนอกทางด้านข้าง

Eric is originally from Madagascar and he spent a lot of time in France where he worked as a fashion designer and model. He still sells his work there and exports all around the world.
เอริคมาจากประเทศมาดากาสการ์และไปทำงานในวงการแฟชั่นที่ประเทศฝรั่งเศสหลายปี เป็นทั้งนายแบบและดีไซเนอร์ ตอนนี้เขาส่งออกไปที่ฝรั่งเศสและทั่วโลก



The first floor of his house is a show room and studio where Eric experiments with textures and patterns on silk. He dyes his silk in his workshop within the compound. Like his textiles, Eric’s house is a mélange of brilliant colors- so fresh, daring and fun.
ชั้นล่างเป็นโชว์รูมและสตูดิโอสำหรับทดลองทำผ้าไหมให้เกิดพื้นผิวสัมผัสและลวดลายแปลกๆ เขามีพื้นที่บางส่วนสำหรับย้อมผ้า บ้านของเอริคเป็นการผสมผสานระหว่างสีสันจี๊ดจ๊าดสะดุดตา-สดชื่น ท้าทาย ดูแล้วรู้สึกสนุกไปกับเขาด้วย




The second floor is the living area. He also has a huge veranda for entertaining. Those white curtains are from Madagascar.
ชั้นบนเป็นพื้นที่พักอาศัย มีลานนอกชานกว้างๆสำหรับรับแขก ผ้าม่านมาจากมาดากาสการ์