market day 2

market day 2

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

Wooden Dolls



Though the tone of my last post might suggest that we are living in a forced exile status. Not quite, since we can come back to some of our latest addiction, that is toy making. Michel has become totally passionate about making wooden creatures to the point where he is always imagining what he could make with loose bits of wood and anything else that he could find.

เนื้อหาในโพสต์ที่แล้วอาจจะทำให้บางคนคิดว่าเราต้องตกอยู่ในสภาพผู้ลี้ภัยที่น่าสงสาร แต่ไม่ใช่ซะที่เดียวเพราะเราได้กลับมาทำอะไรที่เราติดกันงอมแงม นั่นก็คือการทำตุ๊กตา มิเชลกลายเป็นคนปลื้มการประดิษฐ์จากไม้เป็นทั้งรูปคนและสัตว์ถึงขนาดว่าเห็นเศษไม้ที่ไหนไม่ได้ต้องจินตนาการว่าจะทำเป็นตัวอะไรดี

It all started when we decided to get some curtain rods in Soi Prachanarumit. For those who do not know, this is THE STREET for all wood-working enthusiasts. Michel ended up making frequent trips there on his own and came home with wooden sticks and balls of various sizes. Those things remained as house display for a long time in Khao Yai. Then one day I asked him if he could make me some kokeshi dolls. He never made a kokechi doll but he assembled the wooden parts into this instead. I did the styling, hair and make-up.
เรื่องมันมีอยู่ว่าครั้งหนึ่งเราอยากได้ราวแขวนผ้าม่านเลยไปหาซื้อที่ซอยประชานฤมิตร สำหรับคนที่ไม่รู้จักซอยนี้ ขอบอกว่าเป็นสุดยอดศูนย์รวมค้าส่งงานไม้และเครื่องไม้เครื่องมือของช่างไม้ หลังจากนั้นมิเชลก็กลับไปคนเดียวอีกหลายรอบเพื่อไปช็อปสิ่งละอันพันละน้อยทั้งลูกบอลและแท่งไม้ทุกแบบทุกไซส์มาเก็บเอาไว้ เราเอาไปวางโชว์ไว้เล่นๆในบ้านเขาใหญ่อยู่ตั้งนานจนกระทั่งวันหนึ่งฉันบอกว่าเราน่าจะเอาชิ้นส่วนเหล่านี้มาประกอบเป็นตุ๊กตาโคเคชิบ้าง มิเชลไม่ได้ทำตุ๊กตาโคเคชิแต่ทำตุ๊กตาตัวนี้เป็นตัวแรก ฉันรับหน้าที่เป็นสไตลิสต์เสื้อผ้าหน้าผม



Then he made this.
แล้วก็ทำ……





And this.
กับ………..




Then the whole thing became an obsession.
การทำตุ๊กตาไม้กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เสียแล้ว



He is now branching out into Pop Art.
ตอนนี้เริ่มเปลี่ยนแนวเป็นป๊อปอาร์ต






วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

Workmanship

We are stationed in Khao Yai this week and the next. We cannot go back until the floor at the condo is fixed. Fortunately, we have quite a lot of work to do here and the weather is good although there  is a concern that it is the second time in 6 months since we fixed the same floor. This time, the renovation covers a very large area of the condo. All the furniture has to be taken out of the living room and the kitchen. The builders get to keep the house keys until the work is done. There will be cement dust and loud noises in our absence from Bangkok. The neighbors will certainly not be happy.
Our condo is relatively new. We are the first group people to live there. It is astonishing how building standards have become so unreliable these days. I am sure that it is a universal problem all over the world. When a job is not properly done, people’s lives are inevitably affected. The builders are willing to compensate for everything but how do they compensate for the time lost, the anxiety and the gradual erosion of your own sense of trust in people’s workmanship.
This is the picture that we have of the living room before the builders move in. How peaceful, it looks- The calm before the storm.
ช่วงอาทิตย์นี้กับอาทิตย์หน้าเราประจำการอยู่ที่เขาใหญ่ กลับไปคอนโดไม่ได้เพราะพื้นคอนโดชำรุดต้องซ่อมให้เสร็จก่อน โชคดีที่เรามีงานทำที่นี่และอากาศที่เขาใหญ่กำลังดี แต่ฉันก็ยังอดคิดไม่ได้ว่าเราต้องซ่อมพื้นคอนโดเป็นครั้งที่สองภายในระยะเวลาเพียงแค่หกเดือน ครั้งนี้ยิ่งแย่ไปกว่าเดิมเพราะต้องซ่อมพื้นที่กว้างกว่าเดิมมาก เราต้องขนเฟอร์นิเจอร์ออกจากห้องรับแขกกับห้องครัว ต้องทิ้งกุญแจไว้กับผู้รับเหมาจนกว่างานซ่อมจะเสร็จสิ้น ตอนซ่อมต้องมีทั้งฝุ่นซีเมนต์และเสียงดังมาก ชาวบ้านคงไม่ค่อยพอใจเท่าไหร่
คอนโดของเราค่อนข้างใหม่ เราย้ายเข้ามาอยู่เป็นพวกแรกเลย เรารู้สึกมึนงงกับมาตรฐานการก่อสร้างสมัยนี้ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ เข้าใจว่าเรื่องแบบนี้กลายเป็นปัญหาสากลที่มีอยู่ทั่วทุกสารทิศ เมื่องานไม่มีคุณภาพมันส่งผลกระทบไปที่ชีวิตของคนอื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้รับเหมาอาจจะแสดงความเต็มใจที่จะชดใช้ทุกสิ่งทุกอย่างให้กับเราอย่างเต็มที่แต่เขาจะชดใช้เวลาที่สูญเสีย ความวิตกกังวล และความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจในฝีมือการทำงานของช่างที่ถูกกัดกร่อนไปจนหมดแล้วได้อย่างไร
รูปนี้เป็นรูปก่อนช่างจะเข้ามาซ่อมพื้น ดูเงียบสงบ-เหมือนทะเลที่ไม่มีคลื่นลมก่อนพายุจะเข้า

There was an article in the Bangkok Post last Wednesday called “An Enduring Emblem of Excellence”by Laurent Banguet. Most people might know that the famous Eiffel Tower was first built as a temporary structure in 1889 for the Universal Exhibition. When the exhibition finished, the French people decided not to dismantle the tower since it was designed to stand for 20 years. Even as it was being built, some expert predicted that it was going to crash. But it didn’t. Now, more than a hundred years on, the tower is still a landmark in Paris, looking as fine as ever. It had stood the test of time and all kinds of weather conditions. The authority that takes care of the tower claims that the tower is in excellent shape and many believe that the most recognizable icon of Paris will be around for the next two to three hundred years.
A remarkable story.
In Thailand, we also have a lot of buildings, not in steel but some even made out of wood that date back more than a hundred years. I guess it is easy to say, “Why don’t people make things the way they use to anymore?” But no one can deny the fact that a job well done is not just about durability but about a piece of art that could be shared and admired beyond generations.
ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์เมื่อวันพุธที่ผ่านมามีบทความเรื่องสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์แบบ โดย ลอร็องต์ บังเกต์ หลายคนคงทราบดีว่าหอไอเฟลที่เรารู้จักกันดีนั้นเดิมทีเป็นสิ่งปลูกสร้างชั่วคราวสำหรับงาน Universal Exhibitionในปีค.ศ. 1889 เมื่องานเสร็จสิ้นลงคนฝรั่งเศสไม่ได้ทำการรื้อถอนเพราะหอคอยหลังนี้ถูกออกแบบให้อยู่ได้ถึง 20 ปี แม้ในช่วงที่กำลังก่อสร้างมีนักวิชาการบางท่านฟันธงว่าหอไอเฟลจะโค่นลงมาแบบไม่เป็นท่า แต่เหตุการณ์นี้ก็ไม่เกิดขึ้น จนบัดนี้เวลาได้ล่วงเลยมากว่าร้อยปีเครื่องหมายนครปารีสชิ้นนี้ยังอยู่ยั้งยืนยงทั้งที่ต้องผ่านบททดสอบมาตลอดและต้องทนต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอากาศต่างๆนาๆ ทางหน่วยการบำรุงรักษาหอไอเฟลกล่าวว่าทุกอย่างยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์และจะอยู่เป็นไอคอนของปารีสได้อีกสองร้อยสามร้อยปี
เป็นเรื่องที่น่าทึ่งจริงๆ
บ้านเราก็มีสิ่งปลูกสร้างหลายแห่งที่ไม่ได้ทำจากเหล็ก อาจจะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือแม้กระทั่งไม้ที่มีอายุกว่าร้อยปีเช่นกัน มันง่ายที่เราจะตั้งคำถามว่าทำไมคนสมัยนี้ไม่ทำงานคุณภาพเหมือนคนสมัยก่อน แต่ทุกคนคงจะยอมรับว่างานที่ทำเสร็จสมบูรณ์นั้นมันไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความคงทนถาวรเพียงอย่างเดียว แต่เป็นงานศิลปะที่สามารถแบ่งปันให้กับชนรุ่นหลังได้ดูได้ชมกัน

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

Hand Sewing


Living between weekdays in a condo and weekends in a small cottage meant that we have to decide where we make things for fun and where we do serious work. So we have most of our tools and equipments for our handwork in Khao Yai and we have most of the books on the shelves in Bangkok. As it happens quite frequently, I found myself carrying a lot of things to Khao Yai and back both for work and for fun. That is, if they were portable. Books, laptops, knittings and crochets and small ornamental sewing projects are fine. However, most of my sewing work is done in Khao Yai. Most of my sewing notions and equipments are there and I am reluctant to move my old sewing machine. Portable as it is, my sewing machine is quite heavy and bulky. Then there is an old over-locker with all the bits pointing in all directions. It doesn’t seem practical to have them in the car on our trips.
เนื่องจากเราสองคนใช้ชีวิตอยู่สองบ้านคือวันธรรมดาอยู่ที่คอนโดและวันหยุดสุดสัปดาห์เราไปนอนที่กระท่อม ดังนั้นเราต้องเลือกว่าเราจะใช้ที่ไหนเป็นที่ทำงานประดิษฐ์และที่ไหนเป็นที่ทำงานประจำ เราตัดสินใจขนวัสดุอุปกรณ์งานทำมือไปไว้ที่เขาใหญ่ คอนโดที่กรุงเทพฯเป็นที่เก็บเอกสารและหนังสือสำคัญ แต่ฉันก็ยังต้องขนสัมภาระพะรุงพะรังระหว่างกรุงเทพเขาใหญ่อยู่บ่อยๆทั้งสำหรับงานทำมาหากินและงานทำเล่น ขนสิ่งที่พอขนได้เช่นหนังสือแล็บท็อป งานถักนิ๊ตติ้ง โครเชต์ และงานเย็บปักถักร้อยนิดๆหน่อยๆ งานเย็บผ้าส่วนใหญ่จะทำที่เขาใหญ่เพราะมีวัสดุอุปกรณ์สารพัดเก็บไว้ที่นั่น แล้วชั้นไม่ชอบเคลื่อนย้ายจักรตัวเก่าไปไหน ที่จริงจักรตัวนี้มีหูหิ้วแต่หนักและใหญ่พกพาลำบาก แล้วถ้าอยากจะเย็บผ้ากันอย่างจริงจังฉันจ้องแบกจักรโพ้งคู่กันไปด้วย จักรโพ้งตัวนี้มีชิ้นส่วนเกะกะไม่น่าแบกขึ้นรถไปไหนเลย

 I often think how nice it would be to be able to sew anywhere without having to have a sewing machine or an over-locker  with me all the time. There must be a way to sew everything entirely by hand and still be able to have something that is unique, well finished, durable and even beautiful.
I know that for centuries before the invention of the sewing machine, people have been sewing everything by hand. As I look through the pages of fashion history books, I am more than convinced that great fashion can be made by hand.
I don’t often see garments that are made entirely by hand. I remember the time when I saw a simple skirt made by hand by a contemporary Korean designer in a boutique in New Zealand. I was so astonished that I must have stood there feeling the seams and turning the skirt inside out a million times before leaving the shop- sadly without the skirt. The charm was surely the human touch and the time that someone was willing to spend to make something.
ฉันมักจะคิดอยู่เสมอว่า ถ้าเราเอางานเย็บมือไปกับเราทุกหนทุกแห่งได้โดยไม่ต้องเอาจักรธรรมดากับจักรโพ้งไปด้วยก็คงจะดี เลยเป็นเหตุที่ทำให้ต้องหาวิธีการเย็บทุกอย่างด้วยมือให้ได้ แต่ต้องเย็บออกมาดูดี น่าใช้ ตะเข็บเนี้ยบ และทนทานการใช้งานด้วย
ฉันพอจะรู้ว่าในหลายศตวรรษก่อนมีจักรเย็บผ้าทุกคนต้องเย็บผ้าด้วยมือกันทั้งนั้น เสื้อผ้าสวยๆตามหน้าหนังสือประวัติศาสตร์แฟชั่นที่เป็นงานเย็บมือ และเป็นสิ่งตอกย้ำความเชื่อว่าการเย็บมือสามารถเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราทำแฟชั่นที่ดูยิ่งใหญ่อลังการได้
ฉันไม่ค่อยเห็นเสื้อผ้าที่เย็บด้วยมือ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่บูติกในประเทศนิวซีแลนด์ได้ไปเจอกระโปรงสไตล์เรียบๆเป็นงานเย็บมือของดีไซเนอร์ชาวเกาหลี ฝีมือการเย็บทำให้ฉันถึงกับอึ้งไปชั่วขณะหนึ่ง ฉันได้แต่ยืนสัมผัสรอยตะเข็บ พลิกกระโปรงดูหน้าหลัง กลับตะเข็บดูด้านในด้านนอกหลายครั้งก่อนผละตัวออกมาด้วยความเสียดายที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ เสน่ห์ของงานชิ้นนั้นอยู่ที่ความประณีต ละเอียดอ่อน และการทุ่มเทเวลาให้กับการสรรค์สร้าง

We often say that there is not enough time and we don’t spend enough time making things for pleasures. I don’t think anyone should deny the happiness of creating things slowly and being present at all time while doing things. Sewing by hand is not as slow as people may think. I think, one gives more care and attention when one is not using the machine. The sewing machine does not always save time if you, yourself are not mindful. Unpicking mistakes is most time wasting and most likely to be frustrating.
เรามักจะได้ยินคนพูดอยู่บ่อยๆว่าไม่มีเวลาทำนู่นทำนี่ที่ใจรัก ฉันไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมเราต้องปฏิเสธความสุขที่ได้จากการลงมือทำอะไรอย่างเนิบช้าและอยู่กับสติตลอดเวลาที่เราทำงานนั้น การเย็บมือไม่ได้เป็นกระบวนการที่กินเวลามากอย่างที่หลายคนคิด เวลาที่เราเย็บมือเรามีเวลาที่จะเพ่งดูสิ่งที่เราทำอย่างระมัดระวังมากกว่าเวลาเราใช้จักรเย็บผ้าที่มีสปีดแข่งกับเวลา จักรเย็บผ้าไม่ได้ประหยัดเวลาให้เราเสมอไปถ้าเราไม่อยู่กับปัจจุบันขณะ เวลาเราเผลอตัวไปกับการีบเร่งเราอาจจะต้องเสียเวลาและเสียใจกับการต้องเลาะตะเข็บเพราะเย็บผิดก็ได้
A year ago, noojo recommended thet I see mairuru, a Japanese blog by the person by the same name. Mairuru crafts everything by hand and she was highly productive. Almost every day (before the arrival of her new born baby), she would create something new just because hand sewing was accessible and she was so good at it. She even gave step by step tutorials for those who might be interested in hand sewing. I was completely blown over by her enthusiasm.
I began to notice that there are many books that give good instructions on machine sewing, but not one that clearly teaches you how to sew by hand.  I continued my search. Then I thought of this book.
เมื่อปีที่แล้ว noojo ได้แนะนำให้เราเข้าไปดูบล็อกของสาวญี่ปุ่นชื่อ Mairuru คุณมาอิรุรุมีผลงานเย็บมือเยอะมาก ก่อนที่เธอจะผันตัวเป็นคุณแม่มือใหม่เธอมีผลงานให้ดูแทบทุกวันเพราะเธอสนุกสนานกับการเย็บ และการเย็บมือเป็นสิ่งที่เธอสามารถหยิบขึ้นมาทำได้ทุกเมื่อ เธอยังมีโพสต์การสอนทำงานเย็บมือแบบทีละขั้นตอนสำหรับคนอื่นที่อาจจะสนใจไปลองทำเองบ้าง เป็นอะไรที่น่าทึ่งทีเดียว
ฉันสังเกตว่าหนังสือดีๆที่สอนเย็บผ้าทั่วไปมีอยู่ดาษดื่น แต่ไม่ค่อยมีที่เน้นการเย็บมือโดยเฉพาะ ฉันเลยต้องหาไปเรื่อยๆ แล้วฉันก็นึกถึงหนังสือเล่มนี้



Years ago while studying as a fashion student, I came across a quaint little hardback called A Big Book of Needlecraft. The better condition of the cover comes from Amazon UK. I lost the cover of mine soon after. There is still a lot of second hand copies on the internet. My version was in poor condition and I was obliged to photocopy many pages before the book fell apart.

The book was published in 1935, in the time where women were still making things at home by hand and home sewing machine was still something of a luxury that one could only dream of.
My initial feeling about the book was that it had a wonderful mixture of fashion inspirations that I could use to inspire my university assignments.
นานมาแล้ว สมัยที่ฉันยังเป็นนักศึกษาแฟชั่น ฉันไปได้หนังสือชื่อ A Big Book of Needlecraft ภาพปกที่พอจะดูได้มาจากลิ้งค์ Amazon UK ปกหนังสือของฉันหลุดหายไปหลังจากที่ซื้อหนังสือได้ไม่กี่วัน ถ้าไปหาดูในเน็ตยังมีหนังสือเล่มนี้ขายอีกหลายเล่ม ส่วนเล่มของฉันทั้งเก่าและโทรมเลยมีบางส่วนที่ต้องถ่ายเอกสารเก็บไว้ก่อนที่จะหลุดหายไปทีละหน้า
หนังสือเล่มนี้ถูกจัดพิมพ์ขึ้นในปี ค..1935 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ทำของใช้เองที่บ้าน และจักรเย็บผ้ายังเป็นของสินค้าหรูหราราคาแพงเกินกว่าจะมีได้ทุกครัวเรือน
ตอนที่ซื้อหนังสือเล่มนี้ก็คิดว่าจะเอาภาพสวยๆมาเป็นแรงบันดาลใจเวลาทำงานส่งอาจารย์


This is a perfect book for my hand sewing projects now.
สำหรับตอนนี้ หนังสือเล่มนี้เป็นตำราการเย็บมือได้อย่างดี

It is nostalgic, adorable and doesn’t look too complicated at all.
ทำให้นึกถึงสิ่งละอันพันละน้อยในอดีตที่น่ารักๆ และเราสามารถทำได้ง่ายๆ

There are even some decorations.
อันนี้เป็นการตกแต่ง

How to cover the seams without using an over-locker.
นี่เป็นการเก็บตะเข็บให้เนี้ยบโดยไม่ต้องใช้จักรโพ้ง


Patterns you can make.
มีแพทเทิร์นด้วย


There is a very small machine sewing section as well.
ที่จริงมีส่วนที่สอนการใช้จักรเย็บผ้านิดหน่อย

I haven’t given up machine sewing yet. Hand sewing has become something quite important to me, that is all.
ฉันยังชอบเย็บผ้าด้วยจักร แต่งานเย็บมือได้กลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญโดยปริยาย